Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. HR3Tool
  5. นำเข้า
  6. รายได้/ หักพิเศษ

รายได้/ หักพิเศษ


[HR3 Tool] เครื่องมือนำเข้าข้อมูลรายได้ /หักพิเศษจากไฟล์ excel จะแตกต่างจากเครื่องมือช่วยโอนรายการใน Panya HRM ตรงที่ไม่ต้องแปลงไฟล์ excel ให้เป็นไฟล์ csv ก่อนที่จะโอนรายการ ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนในการทำงาน

ผู้ใช้สามารถเลือกรูปแบบนำเข้าได้ 2 รูปแบบคือ นำเข้าเฉพาะจำนวนเงิน หรือ นำเข้าจำนวนเงิน + จำนวนครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ต้องการนำเข้าและความสะดวกของผู้ใช้เอง

📑นำเข้าเฉพาะจำนวนเงิน

กรณีที่ไม่ต้องการนำเข้าจำนวนครั้ง ผู้ใช้สามารถเลือกได้ทั้งรูปแบบนี้ หรือ รูปแบบด้านล่างก็ได้ แต่ถ้าคุ้นเคยกับการนำเข้าใน Panya HRM มาก่อนใช้รูปแบบนี้จะสะดวกกว่า

รูปแบบข้อมูลในไฟล์ excel

  • แถวที่ 1 เป็นแถวที่ระบุรหัสรายได้/รายหักเท่านั้น โดยตั้งแต่คอลัมน์ B เป็นต้นไปให้ระบุรหัสของรายได้/รายหักที่จะนำเข้า
  • แถวที่ 2 เป็นต้นไป
    • คอลัมน์ A ต้องเป็นรหัสพนักงาน และแต่ละแถวรหัสพนักงานต้องไม่ซ้ำกัน
    • คอลัมน์ B เป็นต้นไปต้องเป็นจำนวนเงินรวม กรณีที่มีการนำเข้ารายได้/รายหักมากกว่า 1 หัวข้อต้องใส่ข้อมูลจำนวนเงินรวมให้ตรงกับรหัสรายได้/รายหักที่ระบุไว้ในแถวที่ 1
ภาพตัวอย่างข้อมูลในไฟล์ excel นำเข้าเฉพาะจำนวนเงิน

📑นำเข้าจำนวนเงิน + จำนวนครั้ง

กรณีต้องการนำเข้าจำนวนครั้ง หรือ ข้อมูลอื่นๆนอกเหนือจากนั้น ผู้ใช้จำเป็นต้องเลือกรูปแบบนี้เท่านั้น

รูปแบบข้อมูลในไฟล์ excel

  • โปรแกรมจะอ่านข้อมูลตั้งแต่แถวที่ 2 เป็นต้นไป
  • ข้อมูลที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้นำเข้าได้
    • รหัสพนักงาน
    • รหัสหัวข้อรายได้/รายหัก
    • จำนวนเงินรวม
  • ข้อมูลเพิ่มเติมที่สามารถนำเข้าได้
    • รหัสหัวข้อย่อย
    • จำนวนเงิน
    • จำนวนครั้ง
    • หมายเหตุ
ภาพตัวอย่างข้อมูลในไฟล์ excel นำเข้าจำนวนเงิน + จำนวนครั้ง

วิธีใช้

  1. คลิกปุ่มเปิดไฟล์
  2. เลือกไฟล์ excel ที่ต้องการนำเข้า
  3. ข้อมูลของไฟล์ excel ที่เลือกจะแสดงในหน้าจอโปรแกรม
  4. เลือกรูปแบบนำเข้า
  5. กรณีนำเข้าข้อมูลของงวดพิเศษ
    • ทำเครื่องหมายในช่อง นำเข้างวดพิเศษ
    • เลือกรหัสงวด
  6. กรณีนำเข้าข้อมูลของงวดปกติ ให้กำหนดวันที่ ซึ่งจะต้องอยู่ใน งวด ที่ต้องการจ่าย
  7. กรณีเลือกรูปแบบนำเข้าเฉพาะจำนวนเงิน ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 9
  8. ระบุตำแหน่งของคอลัมน์ ให้ตรงกับข้อมูลในไฟล์ excel ซึ่งอย่างน้อยต้องระบุ
    • ตำแหน่งคอลัมน์รหัสพนักงาน
    • ตำแหน่งคอลัมน์หัวข้อรายการ
    • ตำแหน่งคอลัมน์จำนวนเงินรวม
  9. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม บันทึก เพื่อนำเข้าข้อมูล
  10. ตอบตกลงเมื่อมีการขอยืนยัน
  11. หลังจากดำเนินการเสร็จสิ้นจะมีข้อความแจ้ง
  12. จะมีตาราง Log แสดงผลการนำเข้า

หมายเหตุ

  • ทศนิยมของจำนวนเงินต้องไม่เกิน 2 หลัก
  • ถ้าไม่ระบุจำนวนเงิน โปรแกรมจะใช้จำนวนเงินรวมแทน
  • ถ้าไม่ระบุจำนวนครั้ง โปรแกรมจะกำหนดค่าเป็น 1 ครั้ง
  • ถ้าไม่ระบุหัวข้อย่อย โปรแกรมจะกำหนดค่าเป็น —
การปรับปรุง
  • v.1.4.6602.0 เพิ่มนำเข้าข้อมูลงวดพิเศษ
  • v.1.4.6510.0 ปรับปรุงรูปแบบการนำเข้า
  • v.1.1.6410.0 เพิ่มใหม่