เครื่องมือช่วยในการนำเข้าข้อมูลครั้งละหลายๆรายการจากไฟล์ Excel ข้อมูลที่นำเข้าได้คือข้อมูลทะเบียน และ ข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนของหัวข้อข้อมูลที่นำเข้าได้ 🖱️ดูที่นี่
ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้จากจากการนำเข้าจะไม่เหมือนกับการป้อนข้อมูลทีละรายการในแต่ละหน้าจอของโปรแกรม ดังนั้นถ้าข้อมูลที่จะนำเข้ามีไม่กี่รายการแนะนำให้ทำการป้อนข้อมูลโดยตรงในโปรแกรม
กำหนดตำแหน่งคอลัมน์ของข้อมูลใน Excel
ครั้งแรกสุดก่อนที่จะนำเข้าข้อมูลแต่ละประเภท ผู้ใช้ต้องกำหนดค่าเพื่อให้โปรแกรมทราบก่อนว่าข้อมูลอะไรอยู่ที่คอลัมน์ไหนใน Excel การตามขั้นตอนต่อไปนี้
- ที่ tab ดำเนินการ ให้กำหนดประเภทของข้อมูล
- ที่ tab กำหนดค่า มาที่ตารางกำหนดตำแหน่งคอลัมน์ของข้อมูลใน Excel แล้วระบุในช่องคอลัมน์ของแต่ละหัวข้อว่า ข้อมูลแต่ละหัวข้อนั้นอยู่ในคอลัมน์ไหนของ Excel เช่น วันที่จ่าย ระบุเป็น A, เลขที่ ระบุเป็น B เป็นต้น ถ้าข้อมูลในหัวข้อไหนไม่มีใน Excel ก็ไม่ต้องระบุ ให้เว้นว่างไว้
- เรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่มบันทึกค่าที่กำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องมากำหนดค่าทุกครั้งที่นำเข้า
หมายเหตุ:
- ทะเบียนนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ใช้การกำหนดค่าร่วมกัน ดังนั้นรูปแบบข้อมูลใน Excel ของทะเบียนทั้งสองต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน
- หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 สามารถหักได้สูงสุด 3 ประเภทเงินได้ใน 1 เอกสาร ถ้าข้อมูลของท่านมีการหักแค่ 1 ประเภท ก็ให้กำหนดค่าเฉพาะ รายการ 1: เท่านั้น
การนำเข้าข้อมูล
การนำเข้าข้อมูลให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้
- กำหนดประเภทของข้อมูลที่ต้องการนำเข้า ตามตัวเลือกที่มีให้
- กำหนดไฟล์ Excel ที่มีข้อมูลที่จะนำเข้า โดย
- คลิกที่ปุ่ม ⋯ ที่อยู่ขวามือของช่องไฟล์ Excel
- หน้าต่าง Open จะแสดงขึ้นมา ให้เลือกไฟล์ Excel ที่ต้องการ
- กรณีนำเข้าข้อมูลทะเบียน ให้ข้ามไปดำเนินที่ข้อ 6 ได้เลย
- กำหนดลำดับการยื่น ว่าเป็น ยื่นปกติ หรือ ยื่นเพิ่ม กรณียื่นเพิ่มต้องระบุครั้งที่ด้วย
- ทำเครื่องหมายถูกในช่องกำหนดวันที่จ่ายเงินได้ตามนี้ -> กรณีต้องการกำหนดวันที่จ่ายเงินได้เอง โดยไม่สนใจวันที่จ่ายเงินได้ในรายการข้อมูลที่นำเข้า พร้อมทั้งกำหนดวันที่ด้วย
- คลิกปุ่มเริ่ม
- จะมีหน้าต่างขอการยืนยันให้ตอบ ใช่
- รอจนกว่าจะมีข้อความแจ้งการดำเนินการเสร็จสิ้น
- ในตารางผลการนำเข้าข้อมูลจะแสดงจำนวนรายการที่นำเข้าได้ และรายการไหนที่นำเข้าไม่ได้จะแสดงข้อบกพร่องให้ทราบ
หัวข้อข้อมูลที่นำเข้า
ข้อมูลทะเบียน
หัวข้อ | ความยาวข้อมูล สูงสุด (ตัวอักษร) | คำอธิบาย |
---|---|---|
รหัส | 15 | ตัวเลข หรือ ตัวอักษรอังกฤษ ต้องไม่มีเครื่องหมาย และช่องว่าง ต้องไม่ซ้ำกันในรายการที่จะนำเข้า และต้องไม่ซ้ำกับข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น |
คำนำหน้า | 20 | นาย นาง น.ส. เป็นต้น |
ชื่อ | 120 | ชื่อบริษัท หรือ ชื่อบุคคลธรรมดา |
นามสกุล | 80 | เฉพาะบุคคลธรรมดา |
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี | 13 | ตัวเลขเท่านั้น และต้องไม่มีเครื่องหมายใดๆ |
สาขาที่ | 5 | ตัวเลขเท่านั้น |
โทรศัพท์ | 50 | |
โทรสาร | 50 | |
ผู้ติดต่อ | 80 | ชื่อ – สกุลผู้ติดต่อ |
อาคาร 1 | 80 | |
ห้อง 1 | 20 | |
ชั้น 1 | 20 | |
หมู่บ้าน 1 | 60 | |
เลขที่ 1 | 20 | |
หมู่ที่ 1 | 10 | ตัวเลขเท่านั้น |
ซอย 1 | 50 | |
แยก 1 | 50 | |
ถนน 1 | 50 | |
ตำบล 1 | 50 | |
อำเภอ 1 | 50 | |
จังหวัด 1 | 50 | |
รหัสไปรษณีย์ 1 | 5 | ตัวเลขเท่านั้น |
ที่อยู่ออกเอกสาร 2 | 255 | |
เลขที่บัญชี | 20 | |
หมายเหตุ | 255 | |
เลขประจำตัวประกันสังคม | 20 | ตัวเลขเท่านั้น และต้องไม่มีเครื่องหมายใดๆ |
หมายเหตุ
- ที่อยู่สำหรับการส่งข้อมูล E-Filling
- กรณีไม่สามารถแยกที่อยู่เป็น เลขที่ หมู่ที่ ถนน ฯลฯ ไว้แต่ละคอลัมน์ได้ โปรแกรมจะนำข้อมูลจากที่อยู่ออกเอกสาร ไปแยกใส่ไว้ให้
ข้อมูลหัก ณ ที่จ่าย
หัวข้อ | ความยาวข้อมูล สูงสุด (ตัวอักษร) | คำอธิบาย |
---|---|---|
วันที่เอกสาร | 10 | วันที่เอกสารหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย รูปแบบต้องเป็น dd/mm/yyyy |
เลขที่ | 20 | ต้องไม่ซ้ำกันในรายการที่จะนำเข้า และต้องไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น |
รหัสผู้ถูกหัก | 20 | ต้องตรงกับรหัสในทะเบียนนิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ของฐานข้อมูลนั้น |
เงื่อนไขการหักภาษี | ตัวเลข 1, 2 หรือ 3 เท่านั้น1 = หัก ณ ที่จ่าย, 2 = ออกให้ตลอด, 3 = ออกให้ครั้งเดียว | |
วันที่จ่าย | 10 | วันที่จ่ายเงินได้ ใช้แสดงในใบแบบ ภ.ง.ด. และกำหนด ปี และเดือนภาษี รูปแบบต้องเป็น dd/mm/yyyy |
รหัสเงินได้ | ตัวเลข 1, 2, 3, 4 หรือ 5 เท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 2, ภ.ง.ด.1ก 2 และ ภ.ง.ด.2 3 | |
ลำดับหัวข้อ 1 | ตัวเลข 1 ถึง 15 เท่านั้น ตามที่แสดงกำกับไว้ขวามือสุดของแต่ละแถวในหน้า 2 ของหน้าจอบันทึก หัก ณ ที่จ่าย และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย * กรณีที่ใน 1 เอกสารมีมากกว่า 1 หัวข้อ ลำดับหัวข้อต้องไม่ซ้ำกัน | |
คำอธิบายเงินได้ 1 | 30 | แสดงในช่องประเภทเงินได้ของใบแนบภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 |
อัตราภาษี 1 | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น | |
จำนวนเงินได้ที่จ่าย 1 | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น | |
จำนวนภาษีที่หัก 1 | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น | |
จำนวนเงินสมทบ กองทุนประกันสังคม | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก | |
จำนวนเงินสมทบ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก | |
จำนวนเงินสมทบ กองทุนครู | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก | |
เลขที่ภายใน | 20 | |
เงินสมทบส่วนนายจ้าง | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 , ภ.ง.ด.1ก | |
ค่าจ้างจ่ายจริงประกันสังคม | ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 , ภ.ง.ด.1ก | |
ลำดับที่เอกสาร | ตัวเลขเท่านั้น | |
ผู้กระทำการแทน | ต้องตรงกับรหัสในทะเบียนผู้กระทำการแทน |
หมายเหตุ:
- ลำดับหัวข้อ คำอธิบายเงินได้ อัตราภาษี จำนวนเงินได้ที่จ่าย และ จำนวนภาษีที่หัก ใน หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 และ 53 จะมีข้อความ รายการ 1: , รายการ 2: และ รายการ 3: กำกับไว้ข้างหน้า เนื่องจากสามารถบันทึกได้สูงสุด 3 ประเภทเงินได้ใน 1 เอกสาร
- รหัสเงินได้ ภ.ง.ด.1 และ 1ก ให้กำหนดตามนี้
- 1 = เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ กรณีทั่วไป
- 2 = เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ กรณีได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้หักอัตราร้อยละ 3
- 3 = เงินได้ตามมาตรา 40 (1) (2) กรณีนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
- 4 = เงินได้ตามมาตรา 40 (2) กรณีผู้รับเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
- 5 = เงินได้ตามมาตรา 40 (2) กรณีผู้รับเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
- รหัสเงินได้ ภ.ง.ด.2 ให้กำหนดตามนี้
- 1 = เงินได้ตามมาตรา 40 (3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ฯลฯ
- 2 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ฯลฯ
- 3 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) เงินปันผล ฯลฯ
- 4 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ช) เงินผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
- 5 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) อื่นๆ