เปิดใช้งานโปรแกรมจาก PyHRRbf.exe ที่อยู่ในโฟลเดอร์หลักของ Panya HRM จากนั้นลงชื่อเข้าใช้งาน โดยที่บัญชีผู้ใช้ต้องได้รับสิทธิต่อไปนี้ถึงจะลงชื่อเข้าใช้งานได้
- แสดงข้อมูลจำนวนเงิน
- เข้าระบบเงินเดือนได้ และ ใช้ได้เต็มรูปแบบในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งต่อไปนี้
- หัวข้อข้อมูลเงินเดือน
- หัวข้อแก้ไขข้อมูล
หน้าจอของโปรแกรม แถบบนจะแสดงฐานข้อมูลที่กำลังเปิดใช้งานอยู่ พร้อมทั้งแสดงปี และงวดปัจจุบัน และ ส่วนด้านขวาจะมีปุ่มกำหนดค่า สำหรับกำหนดค่าเริ่มต้นของโปรแกรม ส่วนด้านซ้ายเป็นแถบกำหนดเงื่อนไข และ ปุ่มควบคุม และตรงกลางเป็นตารางแสดงข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล
หัวข้อเนื้อหา 📑ประมวลผล 📑ข้อมูลที่แสดงในตาราง 📑ส่งออกเป็น Excel 📑กำหนดค่า
📑ประมวลผล
วิธีการประมวลผลเพื่อแสดงข้อมูลในตาราง
- เลือกปี
- กำหนดวันที่
- คลิกปุ่มประมวลผล
- รอสักครู่ข้อมูลจะแสดงในตาราง
📑ข้อมูลที่แสดงในตาราง
อธิบายความหมายของข้อมูลที่แสดงในตาราง
รหัส | รหัสของพนักงาน |
ชื่อ – นามสกุล | ชื่อ และ นามสกุลของพนักงาน |
อายุ | อายุของพนักงาน ณ วันที่ที่กำหนด |
อายุงาน | อายุการทำงานของพนักงาน ณ วันที่ที่กำหนด |
อายุงานที่เหลือ | จำนวนปีที่เหลือถ้าทำงานจนเกษียณ |
เงินเดือน | เงินเดือนปัจจุบัน |
เงินเดือนเมื่อเกษียณ | เงินเดือนเมื่อเกษียณอายุ (คำนวณตามอัตราขึ้นเงินเดือน) |
ชดเชย (เดือน) | อัตราค่าชดเชย |
เงินชดเชย | เงินเดือนเมื่อเกษียณ ✖️ อัตราค่าชดเชย |
Present Value | 1 ➗ (1 ➕ อัตราดอกเบี้ย)อายุงานที่เหลือ |
มูลค่าปัจจุบันของเงินชดเชย | เงินค่าชดเชย ✖️ Present Value |
ความน่าจะเป็น(%) | ความน่าจะเป็นที่พนักงานจะทำงานจนเกษียณ |
ประมาณการหนี้สิน | มูลค่าปัจจุบันของเงินชดเชย ✖️ (อายุงาน ➗ อายุงานจนเกษียณ) ✖️ ความน่าจะเป็น |
📑ส่งออกเป็น Excel
คลิกปุ่มส่งออก เพื่อทำการส่งข้อมูลในตารางออกเป็นไฟล์ Excel ซึ่งผู้ใช้สามารถนำไปต่อยอดหรือปรับแต่งได้ตามต้องการ
📑กำหนดค่า
คลิกปุ่มกำหนดค่า(อยู่ในแถบด้านบน) จะมีแถบแสดงขึ้นมาที่ด้านขวาของหน้าจอ ในแถบนั้นจะอยู่ 3 tab ด้วยกัน
📁กำหนดค่าทั่วไป
อธิบายความหมายของข้อมูลใน tab กำหนดค่าทั่วไป
เกษียณที่อายุ | จะเกษียณที่อายุเท่าไร |
นับเป็น 1 ปีถ้าเศษอายุมากกว่าหรือเท่ากับ | จำนวนวันที่เป็นเศษของปีมากกว่ากี่วันถึงจะให้นับเป็น 1 ปี |
อัตราขึ้นเงินเดือน | กำหนดอัตราการปรับเงินเดือน เพื่อประมาณการเงินเดือนที่พนักงานจะได้รับเมื่อถึงวันเกษียณ |
อัตราดอกเบี้ย | กำหนดผลตอบแทนที่จะใช้คำนวณ Present Value |
รายได้ที่ใช้เป็นฐานคำนวณ | กำหนดหัวข้อรายได้ที่จะใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินเดือน |
ตัวคูณค่าจ้างรายวันเป็นต่อเดือน | กำหนดตัวคูณที่จะใช้ในการแปลงค่าจ่างต่อวันให้เป็นค่าจ้างต่อเดือน |
ทศนิยมของ Present Value | กำหนดจำนวนหลักทศนิยม ของ Present Value |
📁ตารางจ่ายชดเชย
เป็นการกำหนดอัตราจ่ายค่าชดเชย
📁ตารางความน่าจะเป็น
กำหนดความน่าจะเป็นของพนักงานที่อยู่ในช่วงอายุไหน จะทำงานจนเกษียณ