สำหรับผู้ใช้งานใหม่
[Panya HRM]
บทความนี้อธิบายเรื่องที่ผู้ใช้จำเป็นต้องทราบ และวิธีการทำเงินเดือนแต่ละงวดแบบย่อ สำหรับผู้ใช้ที่เพิ่งจะเริ่มใช้งานได้ศึกษาเป็นแนวทาง
หัวข้อเนื้อหา
📑วันที่ และเวลา
📑พนักงาน
📑รายได้/รายหัก
📑เวลาทำงาน
📑งานประจำในแต่ละงวด
📑พิมพ์รายงานและแบบยื่น
📑เตรียมไฟล์ text สำหรับส่งเงินสมทบประกันสังคมทางอินเทอร์เน็ต
📑เตรียมไฟล์ text สำหรับยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต
📑วันที่ และเวลา
โปรแกรมใช้รูปแบบ dd/MM/yyyy สำหรับวันที่ ตัวอย่างเช่น 09/04/2565 คือวันที่ 9 เมษายน 2565 สำหรับปีนั้นจะต้องเป็นที่ พ.ศ. หรือ ค.ศ. อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นตามที่กำหนดไว้ในปีปัจจุบันของระบบ
สำหรับเวลาทำงานใช้รูปแบบ HH:mm ตัวอย่างเช่น 17:15 คือเวลา 17 นาฬิกา 15 นาที
สำหรับจำนวนชั่วโมงการทำล่วงเวลาใช้รูปแบบ H:mm ตัวอย่างเช่น 2:30 คือ 2 ชั่วโมง 30 นาที
📑พนักงาน
พนักงานเข้าใหม่ ต้องบันทึกข้อมูลพนักงาน และข้อมูลเงินเดือนให้ถูกต้องก่อนที่จะประกาศกะ และนำเข้าข้อมูลเวลาทำงาน
⚠️ข้อควรระวัง
-วันที่เริ่มงาน, วันเกิด ต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด
-รหัสบัตรพนักงานต้องตรงกับข้อมูลที่นำเข้าจากเครื่องบันทึกเวลา
-ตรวจสอบค่าล่วงเวลา, หักไม่มาทำงาน และหักสาย
พนักงานลาออก ต้องบันทึกวันที่ลาออก และเหตุผลที่ออกทันทีที่ทราบข้อมูล
⚠️ข้อควรระวัง
-วันที่ลาออก ต้องเป็นไปตามรูปแบบที่กำหนด
-ถ้าลาออกในงวดปัจจุบัน หรืองวดถัดไป ไม่ต้องเปลี่ยนสถานะเป็น RS
-ถ้าประมวลผลการทำงาน และหรือคำนวณเงินเดือนไปแล้ว ให้ดำเนินการใหม่ทั้งหมดหลังบันทึกวันที่ลาออกแล้ว
📑รายได้/รายหัก
รายได้ไม่เกิน 30 หัวข้อ และรายหักไม่เกิน 20 หัวข้อ ผู้ใช้ต้องกำหนดเองว่าหัวข้อไหนใช้เป็นฐานในการคำนวณภาษี เงินสมทบประกันสังคม และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
รายได้/รายหักแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ปกติ :
-เป็นรายได้/รายหักที่จ่าย/หักเป็นประจำด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในแต่ละงวด
-ให้ใส่จำนวนเงินที่จะจ่าย/หักในข้อมูลเงินเดือน
-การคำนวณเงินเดือนของงวดที่ไม่มีการปรับสภาพพนักงาน โปรแกรมจะใช้ข้อมูลจำนวนเงินจากข้อมูลเงินเดือน
-การคำนวณเงินเดือนของงวดที่มีการปรับสภาพพนักงาน โปรแกรมจะใช้ข้อมูลจำนวนเงินจากข้อมูลปรับสภาพพนักงาน
พิเศษ :
-เป็นรายได้/รายหักที่จ่าย/หักเป็นบางงวด หรือจำนวนงเินที่จ่าย/หักในแต่ละงวดไม่เท่ากัน
-ให้บันทึกรายการจ่าย/หักในหน้าจอบันทึกรายได้/หักพิเศษโดยระบุงวดที่จะจ่าย/หัก
-การคำนวณเงินเดือน โปรแกรมจะใช้ข้อมูลจำนวนเงินจากบันทึกรายได้/หักพิเศษเท่านั้น
📑เวลาทำงาน
เวลาเข้า / ออกในช่วงต่างๆ เป็นข้อมูลสำหรับใช้ในการคำนวณการทำล่วงเวลา และรายได้การทำงานเท่านั้น แต่ไม่มีผลกับการหักขาดงาน หรือสาย
📑งานประจำในแต่ละงวด
ในการทำเงินเดือนในแต่ละงวดขั้นตอนพื้นฐานที่ต้องทำเป็นประจำเรียงตามลำดับก่อนหลัง
1️⃣ ประมวลผลเวลาทำงาน
ที่ระบบเวลาทำงาน เป็นคำนวณ จำนวนวันจ่ายเงิน, จำนวนวันขาดงาน, การทำล่วงเวลา, รายได้ต่อวันทำงาน และ เบี้ยขยัน อ่านวิธีการ🖱️คลิกที่นี่
2️⃣ โอนข้อมูล
ที่ระบบเวลาทำงาน เป็นการโอนข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลเวลาทำงาน ไปยังระบบเงินเดือนเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการคำนวณค่าจ้าง อ่านวิธีการ 🖱️คลิกที่นี่
3️⃣ คำนวณค่าจ้าง
ที่ระบบเงินเดือน เป็นการคำนวณเงินได้/หัก โดยใช้ข้อมูลจาก ข้อมูลเงินเดือน, บันทึกรายได้/หักพิเศษ และข้อมูลที่ได้รับการโอนมาจากระบบเวลาทำงาน อ่านวิธีการ 🖱️คลิกที่นี่
4️⃣ คำนวณภาษีและประกันสังคม
5️⃣ ปิดสิ้นงวด
ที่เมนูหลัก เป็นการยกยอดสะสมต่างๆ, ปรับปรุงข้อมูลเงินเดือนถ้ามีการปรับสภาพ, เปลี่ยนสถานะถ้ามีการพ้นทดลองงาน หรือ ลาออก, เคลียร์รายการคำนวณงวดปัจจุบัน และเปลี่ยนงวดปัจจุบันเป็นงวดถัดไป อ่านวิธีการ 🖱️คลิกที่นี่
ลำดับการทำงานต้องเป็นตามข้างต้น กรณีที่มีการย้อนกลับไปทำขั้นตอนก่อนหน้า ต้องไม่ลืมที่จะทำขั้นตอนต่อๆมาให้ครบถ้วน ตัวอย่างเช่น ถ้าดำเนินการคำนวณภาษีและประกันสังคมไปแล้ว ถ้ามีการโอนข้อมูลใหม่ ต้องทำการคำนวณค่าจ้าง แล้วคำนวณภาษีและประกันสังคมใหม่ด้วย
📑พิมพ์รายงานและแบบยื่น
รายงานต่างๆจะอยู่ในกลุ่มเมนูรายงานของแต่ละระบบ เช่น รายงานการมาทำงานรายวัน, รายงานการลา จะอยู่ในกลุ่มเมนูรายงานของระบบเวลาทำงาน ส่วนรายงานรายได้/รายหัก สลิปเงินเดือน จะอยู่ในกลุ่มเมนูรายงานของระบบเงินเดือน
แบบยื่นภ.ง.ด.1 พิมพ์ได้ที่ระบบเงินเดือน โดยไปที่กลุ่มเมนูรายงาน > รายงานส่งสรรพากร > ภ.ง.ด.1 เมื่อมีหน้าต่างกำหนดเงื่อนไขรายงาน ให้ไปที่ tab เลือกรูปแบบ แล้วเลือกแบบยื่นที่ต้องการพิมพ์
แบบรายการส่งเงินสมทบประกันสังคม พิมพ์ได้ที่ระบบเงินเดือน โดยไปที่กลุ่มเมนูรายงาน > รายงานส่งปกส. เมื่อมีหน้าต่างกำหนดเงื่อนไขรายงาน ให้ไปที่ tab เลือกรูปแบบ แล้วเลือกแบบรายการที่ต้องการพิมพ์
อ่านวิธีการแสดงรายงาน และการพิมพ์รายงาน 🖱️คลิกที่นี่
แบบยื่น ภ.ง.ด. และ แบบรายการส่งเงินสมทบประกันสังคม ถ้าพิมพ์ก่อนปิดสิ้นงวด จะมีข้อความ TEST สีแดง แต่ถ้าพิมพ์หลังปิดสิ้นงวด จะไม่มีข้อความนี้
📑เตรียมไฟล์ text สำหรับส่งเงินสมทบประกันสังคมทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้สามารถส่งออกไฟล์ text ข้อมูลเงินสมทบสำหรับการยื่นทางอินเทอร์เน็ตได้ อ่านวิธีการ 🖱️คลิกที่นี่
📑เตรียมไฟล์ text สำหรับยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้สามารถส่งออกไฟล์ text ข้อมูลใบแนบสำหรับการยื่นภาษีทางอินเทอร์เน็ต(E-FILING)ได้ อ่านวิธีการ 🖱️คลิกที่นี่