[Panya HRM]
กำหนดค่าพื้นฐานของระบบเวลาทำงาน ในหน้าจอแบ่งออกเป็น 3 tab ด้วยกัน
หัวข้อเนื้อหา 📁เวลาทำงาน 📁รายได้/หัก 📁กำหนดค่าผู้ใช้ เพิ่มเติม 📄ให้โปรแกรมคำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงให้อัตโนมัติ กับ ผู้ใช้กำหนดค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงเอง ต่างกันอย่างไร
📁เวลาทำงาน
ข้อมูลที่กำหนด
(a) เงื่อนไขเวลา | |
เริ่มต้นวันใหม่ตั้งแต่เวลา | เริ่มวันใหม่ตั้งแต่เวลาเท่าไร ค่าเริ่มต้นคือ 00:01 (มีผลกับเวลาเข้างานของรหัสกะ) |
ต้องทำล่วงเวลาอย่างน้อย | จะคำนวณชั่วโมงล่วงเวลาให้ จะต้องทำอย่างน้อยกี่นาที ค่าเริ่มต้นคือ 30 |
(b) เลือกรหัสการลา | |
1 ถึง 8 | เลือกประเภทการลาที่ต้องการแสดงใน tab การลา ของหน้าจอข้อมูลการทำงานรายบุคคล |
📁รายได้/หัก
ข้อมูลที่กำหนด
(c) การลา | |
บันทึกอัตโนมัติเมื่อดึงข้อมูลเวลา | ในการโอนข้อมูลเวลาทำงาน ถ้าเวลาเข้า/ออกไม่เป็นไปตามที่กำหนดในระรหัสกะ เช่น เข้าสาย ออกก่อน ไม่มีเวลาเข้า หรือ เวลาออก โปรแกรมจะตรวจสอบเทียบกับบันทึกการลาของวันนั้นๆ ถ้าไม่พบก็จะบันทึกการลา ให้อัตโนมัติ (ประเภทการลาที่โปรแกรมบันทึกให้มี 2 ประเภทเท่านั้น คือ ขาดงาน หรือ สาย) |
กำหนดงวดการหักเงินเอง | ทำเครื่องหมายที่ช่องนี้ ถ้าผู้ใช้ต้องการกำหนดงวด และจำนวนเงิน ที่หักการลาด้วยตัวเอง |
(d) ค่าล่วงเวลา | |
ให้โปรแกรมคำนวณให้อัตโนมัติ | ทำเครื่องหมายที่ช่องนี้ ถ้าผู้ใช้ต้องการให้โปรแกรมคำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงให้ 🖱️คลิกที่นี่เพื่อดูความแตกต่างในการกำหนดค่า |
รูปแบบการคำนวณ | ▪️คำนวณเป็นวัน: คำนวณค่าล่วงเวลาของแต่ละวันก่อน จากนั้นนำค่าล่วงเวลาแต่ละวันมารวมกันเป็นค่าล่วงเวลา ในงวดนั้น ▪️คำนวณเป็นงวด: นำจำนวนชั่วโมงล่วงเวลาแต่ละวันมารวมกันเป็นจำนวนชั่วโมงล่วงในงวดนั้น จากนั้นถึงนำ ค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงไปคูณเพื่อให้ค่าล่วงเวลาในงวดนั้น |
(e) รายได้ / หักต่อวันทำงาน | |
1 ถึง 6 | กำหนดหัวข้อรายได้ที่จ่ายให้เมื่อมาทำงาน |
📁กำหนดค่าผู้ใช้
ข้อมูลที่กำหนด
แสดงพนักงานที่ลาออกไปแล้วในรายชื่อพนักงานทุกหน้าจอ | กำหนดที่จะแสดง/ไม่แสดงรายชื่อพนักงานที่ลาออกไปแล้วในตัวเลือกรหัสนักงาน |
การจัดกลุ่มของรายชื่อพนักงานในทุกหน้าจอเรียงตาม | ⚠️ไมีมีผลกับระบบเวลาทำงาน |
📄ให้โปรแกรมคำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงให้อัตโนมัติ กับ ผู้ใช้กำหนดค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงเอง ต่างกันอย่างไร
หัวข้อ | ให้โปรแกรมคำนวณให้ | ผู้ใช้กำหนดเอง |
---|---|---|
กำหนดจำนวนเงิน | กำหนดในหน้าจอรายได้/รายการหัก ที่ tab รายได้ ที่หัวข้อค่าล่วงเวลา โดยกำหนดเป็นสูตรการคำนวณ | กำหนดในหน้าจอข้อมูลเงินเดือน ที่ช่องค่าล่วงเวลา ของตาราง (a) รายได้ |
ขั้นตอนอื่นๆ | ไม่มี | เมื่อประกาศกะโปรแกรมจะนำค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงมาเก็บไว้ ในประวัติรายวัน |
ประมวลผลการทำงาน | โปรแกรมจะคำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงตามสูตร การคำนวณที่กำหนดไว้ | โปรแกรมจะใช้ค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงที่เก็บไว้ในประวัติรายวัน |
ข้อดี | ไม่มีปัญหาในการปรับสภาพพนักงาน ง่ายต่อการแก้ไข จำนวนเงิน | ผู้ใช้กำหนดค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงของพนักงานแต่ละคน ได้ตามที่ต้องการ |
ข้อเสีย | ไม่สามารถกำหนดค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงของพนักงาน แต่ละคนได้ตามที่ต้องการ | กรณีปรับสภาพพนักงาน หรือ เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินต้องทำ ก่อนประกาศกะ ถ้าประกาศกะไปแล้วต้องทำใหม่ |