Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบหลัก
  5. ⚙️กำหนดงวด

⚙️กำหนดงวด


[Panya HRM] กำหนดรอบในการประมวลผลเวลาทำงาน และการคำนวณค่าจ้าง ของปีปัจจุบัน แยกตามประเภทพนักงาน

หัวข้อเนื้อหา
 📑ข้อมูลที่บันทึก
 📑กำหนดงวดใหม่ทั้งหมด
 📑แก้ไขเป็นรายงวด
📑 ข้อมูลที่บันทึก
ประเภทพนักงานรหัสประเภทของพนักงาน (ไม่สามารถแก้ไขได้)
ปีปีปัจจุบัน
งวดที่ลำดับงวดของประเภทพนักงานนี้ (เป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น)
เดือนเดือนที่ยื่นภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ เงินสมทบประกันสังคม
งวดคำนวณลำดับที่ของงวดในการประมวลผลเวลาทำงาน และการคำนวณค่าจ้าง โปรแกรมจะเริ่มคำนวณตั้งแต่
งวดคำนวณที่ 1 ไปจนถึงงวดคำนวณสุดท้าย ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นการคำนวณแต่ละงวดแล้วต้องทำการปิดสิ้นงวดก่อน
ถึงจะคำนวณงวดต่อไปได้
ปิดการคำนวณทำเครื่องหมาย ถ้าไม่ต้องการให้ประมวลผล หรือ คำนวณ (เฉพาะรุ่น Advance เท่านั้น)
วันที่เริ่มงวดกำหนดว่างวดนี้เริ่มเมื่อไร (มีผลกับการคำนวณจำนวนวันในงวด)
⚠️กรณีประเภทพนักงานนี้ 1 ปีมี 12 งวด จะต้องตรงกับวันที่เริ่มเดือน
วันที่สิ้นงวดกำหนดว่างวดนี้สิ้นสุดเมื่อไร (มีผลกับการคำนวณจำนวนวันในงวด)
⚠️กรณีประเภทพนักงานนี้ 1 ปีมี 12 งวด จะต้องตรงกับวันที่สิ้นเดือน
วันที่เริ่มเดือนกำหนดว่าเดือนนี้เริ่มเมื่อไร (มีผลกับการคำนวณจำนวนวันในเดือนในงวดสิ้นเดือน)
วันที่สิ้นเดือนกำหนดว่าเดือนนี้สิ้นสุดเมื่อไร (มีผลกับการคำนวณจำนวนวันในเดือนในงวดสิ้นเดือน)
วันที่จ่ายเงินกำหนดวันที่จ่ายเงินของงวดนี้ (มีผลกับการแสดง วัน เดือน ปี ที่จ่ายในใบแนบ ภ.ง.ด.1)
เป็นงวดสิ้นเดือนทำเครื่องหมายถ้างวดนี้เป็นงวดสุดท้ายของเดือน
⚠️กรณีประเภทพนักงานนี้ 1 ปีมี 12 งวด ต้องทำเครื่องหมายที่ช่องนี้ทุกงวด
ยื่นกองทุนสำรอง
ในงวดคำนวณที่
ไม่ได้นำไปใช้งาน (เป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น)

📑กำหนดงวดใหม่ทั้งหมด

ใช้กรณีที่เริ่มใช้โปรแกรมใหม่ หรือ เพิ่มประเภทพนักงานใหม่ ให้ดำเนินการตามนี้

  1. ที่ตารางทะเบียนประเภทของงวด(ตารางด้านบน) ให้คลิกที่ประเภทของงวดที่ต้องการกำหนด(ให้พื้นหลังของแถวนั้นเป็นสีเข้ม)
  2. กดคีย์ F8 ที่แป้นพิมพ์ หรือ คลิกปุ่ม เครื่องมือช่วย
  3. หน้าต่างตัวช่วยกำหนดงวดจะแสดงขึ้นมา
  4. Step 1 : กำหนดจำนวนงวดใน 1 ปี โดยใส่ตัวเลขในช่อง (12, 24, 36 หรือ 48 เท่านั้น) แล้วคลิกปุ่ม Next >
  5. Step 2 : กำหนดเดือนเริ่มต้นของงวดแรก
    • ที่ช่อง วันที่เริ่มของงวดแรกอยู่ในเดือน ให้ใส่เลขเดือน (1 ถึง 12)
      • ถ้าวันที่เริ่มของงวดแรกเป็นวันที่ 26/12/2565 ก็ให้ใส่ตัวเลขเป็น 12
      • ถ้าวันที่เริ่มของงวดแรกเป็นวันที่ 01/01/2566 ก็ให้ใส่ตัวเลขเป็น 1
    • ที่ช่อง วันที่จ่ายเงินของงวดแรกอยู่ในเดือน ให้ใส่เลขเดือน (1 ถึง 12)
  6. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม Next >
  7. Step 3 : กำหนดวันที่ของแต่ละงวด (กรณี 12 งวด/ปี ให้ใส่เฉพาะงวดที่ 1 ส่วนกรณี 48 งวด/ปี ให้ใส่ตั้งแต่งวดที่ 1 ถึง งวดที่ 4)
    • คอลัมน์วันที่เริ่ม: ใส่วันที่เริ่มของงวดนั้นๆ (ตัวเลข 1 ถึง 31)
      • ถ้าวันที่เริ่มของงวดเป็นวันที่ 26/12/2565 ก็ให้ใส่เป็น 26
      • ถ้าวันที่เริ่มของงวดเป็นวันที่ 01/01/2566 ก็ให้ใส่เป็น 1
    • คอลัมน์วันที่สิ้นงวด: ใส่วันที่สิ้นงวดของงวดนั้นๆ (ตัวเลข 1 ถึง 31)
      • ถ้าวันที่สิ้นงวดเป็นวันที่ 25/01/2566 ก็ให้ใส่เป็น 25
      • ถ้าวันที่สิ้นงวดเป็นวันที่ 31/01/2566 ก็ให้ใส่เป็น 31
    • คอลัมน์วันที่จ่าย: ใส่วันที่จ่ายของงวดนั้นๆ (ตัวเลข 1 ถึง 31)
  8. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม OK
  9. หน้าต่างตัวช่วยกำหนดงวดจะปิดตัวลง และตารางรายการงวด(ตารางด้านล่าง)จะแสดงงวดตามที่กำหนด

📑แก้ไขเป็นรายงวด

หลังจากกำหนดงวดใหม่ทั้งหมดแล้ว อาจมีวันที่ของบางงวดไม่ตรงกับที่ต้องการ ก็ให้ทำการแก้ไขเฉพาะงวดนั้นดังนี้

  1. ที่ตารางทะเบียนประเภทของงวด(ตารางด้านบน) ให้คลิกที่ประเภทของงวดที่ต้องการ(ให้พื้นหลังของแถวนั้นเป็นสีเข้ม)
  2. ให้สังเกตุว่าตารางรายการงวด(ตารางด้านล่าง) จะเปลี่ยนไปตามประเภทของงวดที่เลือกในข้อ 1.
  3. ที่ตารางรายการงวด(ตารางด้านล่าง) คลิกที่แถวของงวดที่ต้องการแก้ไข(ให้พื้นหลังของแถวนั้นเป็นสีเข้ม)
  4. คลิกปุ่มแก้ไข
  5. ที่ส่วนแสดงรายละเอียดด้านขวามือ จะสามารถแก้ไขได้ ให้แก้ไขวันที่ตามที่ต้องการ
  6. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก

หัวข้อในกลุ่มนี้