Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบเงินเดือน...
  5. ⚙️กำหนดค่า...
  6. ⚙️รายได้ / รายการหัก

⚙️รายได้ / รายการหัก


[Panya HRM] กำหนดหัวข้อของรายได้ และ รายการหัก ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการคำนวณเงินเดือนเลย ผู้ใช้ต้องทำความเข้าใจในการกำหนดค่าเหล่านี้

ในหน้าจอจะมี 4 tab คือ รายได้, รายการหัก, รายการย่อย และ ภาพรวม ต้องการดูข้อมูลในส่วนไหนให้คลิกที่ tab นั้นๆ

📑กำหนดรายได้ และ รายการหัก

รายได้กำหนดได้สูงสุด 30 รายการ ส่วนรายการหักกำหนดได้สูงสุด 20 รายการ

ข้อมูลที่บันทึก
รหัสโปรแกรมจะกำหนดให้เอง รายได้นำหน้าด้วย A ส่วนรายการหักนำหน้าด้วย B
จากนั้นจะตามหลังด้วยตัวเลข 2 หลัก เริ่มจาก 01, 02, 03 จนถึง 30 สำหรับรายได้
และจนถึง 20 สำหรับรายการหัก
กลุ่ม กท.20กำหนดว่าจะให้จำนวนเงินของรายได้ / รายการหักหัวข้อนี้ แสดงในกลุ่มเงินได้ไหน
ในแบบคำนวณค่าจ้างของ กท.20
คำอธิบายกำหนดข้อความที่จะให้แสดงในหน้าจอ และ รายงานต่างๆ (ไม่เกิน 50 ตัวอักษร)
ประเภทปกติ: คือรายได้ / รายการหัก ที่จ่าย หรือ หัก เป็นประจำทุกงวด ด้วยจำนวนเงินเท่าๆกัน
พิเศษ: คือรายได้ / รายการหัก ที่จ่าย หรือ หัก เป็นครั้งคราว
ใช้เป็นฐานในการคำนวณกำหนดว่ารายได้ / รายหักนี้ใช้เป็นฐานในการคำนวณ ภาษีเงินได้,
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม หรือ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือไม่
ในส่วนของภาษีเงินได้ ถ้าทำเครื่องหมายที่ช่องคำนวณครั้งเดียว
โปรแกรมจะถือว่ารายได้ / รายการหักนั้น เป็นเงินได้ครั้งคราวที่มีการจ่าย หรือ หัก
เฉพาะในงวดนั้นๆ และจะไม่นำไปคำนวณรวมเป็นเงินได้ที่คาดว่าจะได้ถึงสิ้นปี
การจ่ายทุกงวด: ทำการจ่าย หรือ หัก ทุกงวด
ทุกเดือน: ทำการจ่าย หรือ หักเฉพาะงวดสิ้นเดือนเท่านั้น
จ่ายผ่านธนาคาร: เฉพาะกรณีมีการจ่ายเงินเดือนพนักงานผ่านธนาคาร และต้องการจ่าย/หัก
รายได้/รายการหักนี้ผ่านธนาคาร
จำนวนเงินใช้ข้อมูลเงินเดือน: กำหนดได้เฉพาะประเภทพิเศษเท่านั้น โดยโปรแกรมจะนำจำนวนเงิน
จากข้อมูลเงินเดือนมาใส่ให้เมื่อบันทึกรายได้ / หักพิเศษ
ใช้ตารางปรับเศษสตางค์: กำหนดให้ทำการปรับเศษสตางค์ยอดเงินสุดท้ายตามรหัสตารางที่กำหนด
กำหนดสูตรการคำนวณ: เฉพาะค่าล่วงเวลา, หักขาดงาน และ หักสาย ที่ด้านล่างจะมีช่องแสดงข้อความ
และ ปุ่ม เมื่อคลิกที่ปุ่ม จะมีหน้าต่างกำหนดสูตรการคำนวณให้ผู้ใช้สามารถกำหนดได้เอง
กำหนดค่า
แต่ละประเภทพนักงาน
ในตารางจะมี 3 คอลัมน์
รหัสประเภท: แสดงรหัสของประเภทพนักงานทั้งหมดที่มี
จำนวนเงินในแถบเงินเดือน: กำหนดตัวหารจำนวนเงินที่ป้อนไว้ในข้อมูลเงินเดือน
(เช่น กรณีมีการจ่าย 2 งวดต่อเดือน ถ้าใส่เงินในข้อมูลเงินเดือนเป็น 20,000.-
แต่ต้องการจ่ายงวดละ 10,000.- ให้กำหนดตัวหารเป็น 2)
การปรับรายได้: เฉพาะรายได้เท่านั้น
กำหนดเป็น A ถ้าต้องการปรับโดยเฉลี่ยอัตราเก่า กับ อัตราใหม่
กำหนดเป็น N ถ้าต้องการปรับโดยใช้อัตราใหม่เท่านั้น

📑กำหนดรายการย่อย

โดยปกติจำนวนรายการของรายได้ และ รายหักน่าจะเพียงพอต่อการใช้งานแล้ว แต่ถ้าผู้ใช้ยังต้องการเพิ่มหัวข้อย่อยของรายได้/รายหักพิเศษ สามารถทำได้ที่ tab นี้

ข้อมูลที่บันทึก
ประเภทกำหนดว่าเป็นรายได้ หรือ รายการหัก
หัวข้อรายการเลือกหัวข้อรายได้ / รายการหัก ประเภทพิเศษ ที่ต้องการสร้างรายการย่อย
รหัสกำหนดรหัสของรายการย่อย (ไม่เกิน 15 ตัวอักษร)
คำอธิบายกำหนดข้อความที่จะให้แสดงในหน้าจอ และ รายงานต่างๆ (ไม่เกิน 50 ตัวอักษร)
จำนวนเงินโปรแกรมจะนำจำนวนเงินนี้มาใส่เป็นค่าเริ่มต้นเมื่อบันทึกบันทึกรายได้ / หักพิเศษ
จำนวนเท่าโปรแกรมจะนำจำนวนเท่านี้มาใส่เป็นค่าเริ่มต้นเมื่อบันทึกบันทึกรายได้ / หักพิเศษ