🧮งวดพิเศษ
[Panya HRM]
กรณีต้องการจ่ายเฉพาะเงินได้พิเศษแยกออกมาจากงวดปกติ ผู้ต้องใช้กำหนดงวดพิเศษขึ้นมา ทำการบันทึกรายได้พิเศษ คำนวณงวดพิเศษ แล้วปิดงวดพิเศษให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะทำงวดปกติ
ขั้นตอนการทำงววดพิเศษ 1️⃣ กำหนดงวดพิเศษ 2️⃣ บันทึกรายได้ 3️⃣ คำนวณงวดพิเศษ 4️⃣ ปิดงวด
1️⃣ กำหนดงวดพิเศษ
แรกสุดต้องกำหนดงวดพิเศษขึ้นมาก่อน โดยเปิดหน้าจอกำหนดงวดพิเศษ แล้วคลิกปุ่มเพิ่ม จากนั้นกำหนดค่าต่างๆตามนี้
หัวข้อ | คำอธิบาย |
---|---|
รหัสงวดพิเศษ | ควรเริ่มต้นด้วยตัวอักษร และไม่ซ้ำกับงวดที่มีอยู่ (ความยาวไม่เกิน 5 ตัวอักษร) |
คำอธิบาย | ใส่ข้อความตามที่ต้องการ (ความยาวไม่เกิน 50 ตัวอักษร) |
เดือน | เดือนที่ยื่นภาษี และ ประกันสังคม |
ปี | ปีปัจจุบัน |
วันที่จ่ายเงิน | ให้อยู่ในเดือนที่ยื่นภาษี |
วันที่ เริ่ม / สิ้น งวด | กำหนดช่วงวันที่ งวดพิเศษจะคำนวณให้เฉพาะพนักงานยังทำงานอยู่ในช่วงนี้เท่านั้น (เริ่มงานหลัง หรือ ออกก่อน จะไม่คำนวณให้) |
ประเภทพนักงาน | เลือกประเภทพนักงานที่ต้องการคำนวณจ่ายในงวดพิเศษนี้ (ทำเครื่องหมายหน้าประเภทพนักงานที่ต้องการ) |
ประเภทรายได้ พิเศษที่จ่าย | เลือกประเภทรายได้พิเศษที่คำนวณจ่ายในงวดพิเศษนี้ (ทำเครื่องหมายหน้าประเภทรายได้ที่ต้องการ) |
กำหนดค่าเรียบร้อยแล้วอย่าลืมคลิกปุ่มบันทึกด้วย
2️⃣ บันทึกรายได้
ต่อมาต้องกำหนดว่าจะจ่ายเงินให้ใคร และจ่ายเท่าไร ให้เปิดหน้าจอบันทึกรายได้ขึ้นมา จะเห็นว่าข้อมูลที่ต้องบันทึกมีดังนี้
หัวข้อ | คำอธิบาย |
---|---|
รหัสพนักงาน | เลือกรหัสพนักงานที่ต้องการ |
งวดที่ | เลือกงวดพิเศษที่จะจ่าย |
เลขที่เอกสาร | เว้นว่างได้ |
หัวข้อรายการ | เลือกประเภทรายได้ที่จะจ่าย (ตัวเลือกจะแสดงเฉพาะประเภทรายได้พิเศษที่จ่ายตามที่กำหนดในหน้าจอ กำหนดงวดพิเศษ) |
จำนวนเงิน | ใส่จำนวนเงินที่จะจ่าย |
จำนวนครั้ง | ระบุจำนวนครั้ง (ค่าเริ่มต้นคือ 1) |
จำนวนเงินรวม | จะคำนวณให้จาก จำนวนเงิน x จำนวนครั้ง |
หมายเหตุ | ใส่ข้อความตามที่ต้องการ หรือ เว้นว่าง |
สำหรับการบันทึกรายได้มี 4 วิธีด้วยกัน
- บันทึกเป็นรายบุคคล : เหมาะสมกรณีจ่ายเงินให้แต่ละคนเป็นจำนวนไม่เท่ากัน และมีจำนวนคนไม่มาก
- ใช้เครื่องมือช่วย : เหมาะสมกรณีจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นจำนวนเท่าๆกัน
- โอนรายการจากไฟล์ CSV : เหมาะสมในกรณีจ่ายเงินให้แต่ละคนเป็นจำนวนไม่เท่ากัน และจำนวนคนมีมาก แต่จะต้องกำหนดรูปแบบคอลัมน์ใน excel ให้ตรงกับที่โปรแกรมต้องการ และข้อมูลรหัสพนักงานใน excel ต้องตรงกับในโปรแกรมทุกตัวอักษร
- นำเข้าจากไฟล์ Excel : เช่นเดียวกันกับกรณีโอนรายการจากไฟล์ CSV แต่ต้องไปดำเนินการใน HR3 Tool
วิธีบันทึกเป็นรายบุคคล
- คลิกปุ่มเพิ่ม
- ทำการทึกข้อมูลต่างๆ
- เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก
ทำเช่นนี้ไปจนครบทุกคน
ใช้เครื่องมือช่วย
- กดคีย์ F8 (กรณีเครื่อง Notebook อาจต้องกดคีย์ Fn + F8 )
- หน้าจอเครื่องมือช่วยจะแสดงขึ้นมา
- ไปที่ tab เพิ่มรายการ
- กำหนดข้อมูลต่างๆ
- ที่ด้านซ้ายทำเครื่องหมายหน้าชื่อพนักงานที่ต้องการบันทึกข้อมูล
- เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก
โอนรายการจากไฟล์ CSV
- กดคีย์ F8 (กรณีเครื่อง Notebook อาจต้องกดคีย์ Fn + F8 )
- หน้าจอเครื่องมือช่วยจะแสดงขึ้นมา
- ไปที่ tab โอนรายการ
- เลือกงวดที่
- กำหนดตำแหน่งคอลัมน์
- กำหนดตำแหน่งของแถว
- คลิกปุ่มบันทึกรูปแบบ เพื่อไว้ใช้งานภายหลัง
- ที่ช่องอ่านข้อมูลจากไฟล์ คลิกที่ปุ่ม … เพื่อเปิดหน้าต่างเลือกไฟล์
- ที่หน้าต่างเลือกไฟล์ (Select files …..) เลือกไฟล์ CSV ที่ต้องการโอนรายการ
- ที่ช่องด้านล่างจะแสดงข้อมูลที่อ่านได้จากไฟล์ CSV ที่เลือก และ ในตารางด้านล่างจะแสดงการจัดรูปแบบของข้อมูลตามที่กำหนด
- ให้ตรวจสอบจากตารางว่าสามารถอ่านข้อมูลได้ตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้ายังไม่ตรงให้ดำเนินการตามข้อที่ 5 ถึง 9 ใหม่
- ที่ด้านซ้ายทำเครื่องหมายหน้าชื่อพนักงานที่ต้องการบันทึกข้อมูล
- เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก
- หน้าจอเครื่องมือช่วยจะปิดตัวลงหลังจากบันทึกเสร็จสิ้นแล้ว
รายการรายได้ที่เกิดจากการโอนรายการ จะมีเลขที่เอกสารกำกับไว้ และ ข้อความ “นำเข้า” ในช่องหมายเหตุ
นำเข้าจากไฟล์ Excel
🖱️คลิกที่นี่ เพื่ออ่านวิธีการนำเข้าโดยใช้ HR3 Tool
3️⃣ คำนวณงวดพิเศษ
หลังจากทำการบันทึกรายได้ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือคำนวณงวดพิเศษ ซึ่งจะคำนวณเงินได้ และ ภาษี ไปพร้อมกันในขั้นตอนเดียว จะแตกต่างจากงวดปกติคือรายได้/รายหักประจำ, เงินสมทบประกันสังคม และ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะไม่มีการคำนวณในงวดพิเศษ
หลังจากคำนวณงวดพิเศษแล้ว ให้ผู้ใช้เปิดหน้าจอแสดงข้อมูลเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการคำนวณ ว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ตรงก็ให้กลับไปดำเนินการในขั้นตอนบันทึกรายได้ และ คำนวณงวดพิเศษใหม่
หมายเหตุ:
- ถ้ามีหน้าต่างขอการยืนยัน ที่แจ้งว่า “พบข้อมูลของงวดคำนวณที่ x ในระบบเงินเดือน !!!“ แสดงว่าผู้ใช้มีการคำนวณงวดที่ x ไว้ก่อนหน้านี้
- กรณีที่ท่านลืมปิดงวดที่ x ก็ให้ตอบ [No] แล้วไปดำเนินการปิดงวดที่ x ก่อน
- กรณีต้องการคำนวณงวดพิเศษก่อน แล้วจะกลับไปดำเนินการคำนวณงวดที่ x ใหม่ในภายหลัง ให้ตอบ [Yes] ซึ่งกรณีนี้ข้อมูลการคำนวณของงวดที่ x จะหายไป
4️⃣ ปิดงวด
หลังจากจ่ายเงินงวดพิเศษให้พนักงานแล้ว ต้องทำการปิดงวดก่อนที่จะทำงวดถัดไป วิธีการก็เป็นไปตามการปิดงวดปกติ คือ ไปที่หน้าหลัก > งานสิ้นงวด > ปิดสิ้นงวด
🖱️คลิกที่นี่ เพื่ออ่านวิธีการปิดสิ้นงวด