[PayrollBiz]
ระบบเสริมของ PayrollBiz เพื่อการจัดการวันหยุดพักผ่อนประจำปีของพนักงาน ก่อนเริ่มใช้งานผู้ใช้ต้องกำหนดเงื่อนไขของระบบในหน้าจอนี้ก่อน
ในระบบพื้นฐานผู้ใช้สามารถกำหนดจำนวนวันสูงสุดที่พนักงานสามารถลาได้ที่หน้าจอสรุปการลา แต่ถ้าใช้ระบบเสริมนี้โปรแกรมจะดำเนินการให้อัตโนมัติตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้กำหนดไว้
คำนิยาม
วันใหม่ | จำนวนวันพักผ่อนประจำปีที่ได้รับเมื่อขึ้นปีใหม่ |
วันที่เหลือ | จำนวนวันพักผ่อนประจำปีที่ใช้ไม่หมดเมื่อถึงสิ้นปี |
วันสูงสุด | จำนวนวันพักผ่อนประจำปีที่สามารถใช้ได้ในปีนั้นๆ |
วันที่เกิน | จำนวนวันพักผ่อนประจำปีที่เกินจากวันสูงสุด |
คุณสมบัติของระบบ
- กำหนดจำนวนวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามอายุงาน
- กำหนดให้สะสมวันหยุดพักผ่อนประจำปีได้
- กรณีของพนักงานใหม่ กำหนดได้ว่าจะให้วันหยุดพักผ่อนประจำปี
- เมื่อทำงานครบ 1 ปี หรือ
- เมื่อขึ้นปีใหม่ (กรณีนี้จำนวนวันหยุดจะเป็นสัดส่วนตามจำนวนเดือนที่ทำงาน)
- กำหนดให้สร้างรายการจ่ายเงินคืนวันหยุดพักผ่อนประจำปีส่วนเกินที่ใช้ไม่หมด
- เลือกได้ว่าจะให้ระบบทำงานอัตโนมัติ หรือ ผู้ใช้จะดำเนินการเอง (ดูข้อแตกต่างด้านล่าง)
ข้อแตกต่างระหว่างการดำเนินการเองกับให้ระบบทำงานอัตโนมัติมีดังนี้
ผู้ใช้ดำเนินการเอง
- ใช้ตัวช่วยพักผ่อนประจำปีในเครื่องมือ เพื่อคำนวณวันหยุดพักผ่อนประจำปี และสร้างรายการจ่ายเงินคืนกรณีมีวันพักผ่อนส่วนเกินที่ใช้ไม่หมด
ให้ระบบทำงานอัตโนมัติ
- เมื่อทำการปิดงวด จะให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีกับพนักงานใหม่ที่อายุงานครบ 1 ปี
- เมื่อปิดสิ้นปี จะให้วันหยุดพักผ่อนประจำปีของปีใหม่กับพนักงาน และดำเนินการจ่ายเงินคืนกรณีมีวันพักผ่อนส่วนเกินที่ใช้ไม่หมด
กรณีต้องการให้ทำงานอัตโนมัติต้องทำเครื่องหมายที่เปิดใช้งาน
กำหนดค่าระบบ
ก่อนเริ่มใช้งานผู้ใช้ต้องกำหนดค่าของระบบพักผ่อนประจำปีในหน้าจอนี้ให้ครบถ้วนเพื่อให้ระบบทำงานได้ตรงตามความต้องการ
เปิดใช้งาน
ให้ทำเครื่องหมายที่เปิดใช้งาน ถ้าต้องการให้ระบบทำงานอัตโนมัติ ในโหมดอัตโนมัติจะมีการดำเนินการทุกครั้งที่ปิดงวด และปิดปีตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น
การสะสมวันพักผ่อน
เลือกได้ระหว่าง สะสม หรือ ไม่สะสม
กรณีเลือกสะสม จำนวนวันที่เหลือจะถูกนำไปรวมกับวันใหม่ และในตารางกำหนดวันพักผ่อนประจำปีจะมีคอลัมน์สูงสุดเพิ่มเข้ามา เพื่อให้ผู้ใช้กำหนดจำนวนวันสะสม (จำนวนวันใหม่ + จำนวนวันที่เหลือ) ต้องไม่เกินที่วัน สำหรับจำนวนวันที่เกินจากนี้จะดำเนินการตามที่กำหนดในวันพักผ่อนส่วนที่เกิน
กรณีเลือกไม่สะสม จำนวนวันที่เหลือจะดำเนินการตามที่กำหนดในวันพักผ่อนส่วนที่เกิน
การให้วันพักผ่อนพนักงานเข้าใหม่
เลือกได้ระหว่าง เมื่อทำงานครบ 1 ปี หรือ เมื่อขึ้นปีใหม่
กรณีเลือกเมื่อทำงานครบ 1 ปี โปรแกรมจะให้วันใหม่กับพนักงานเมื่อทำงานครบ 1 ปีแล้วเท่านั้น โดยจะคำนวณให้เมื่อทำการปิดงวด และเมื่อขึ้นปีใหม่ครั้งถัดไปวันใหม่จะได้รับตามสัดส่วนจากจำนวนเดือนที่ทำงานจากวันที่ครบ 1 ปีจนถึงวันสิ้นปี
กรณีเลือกเมื่อขึ้นปีใหม่ ในปีแรกโปรแกรมจะให้วันใหม่ตามสัดส่วนจำนวนเดือนที่ทำงาน โดยจะคำนวณให้เมื่อทำการปิดปี
หัวข้อรายได้กรณีจ่ายเงินคืน
กำหนดหัวข้อหลัก และหัวข้อย่อย ของรายได้ที่จะใช้บันทึกรายการเงินได้/หักพิเศษสำหรับการคืนเงินวันที่เกิน โดยเลือกจากตัวเลือกที่มีให้
ตัวเลือกหัวข้อหลักจะแสดงเฉพาะรายได้ประเภทพิเศษ ที่เป็นฐานในการคำนวณภาษีเงินได้ และเปิดใช้งานอยู่
ตารางกำหนดจำนวนวันพักผ่อน
กำหนดจำนวนวันใหม่ที่จะให้แต่ละปี และจำนวนวันสูงสุด(กรณีสะสมวันพักผ่อนได้) ตามอายุงานของพนักงาน
ต้องกำหนดอย่างน้อย 1 แถว ไม่เช่นนั้นระบบจะไม่ทำงาน และกรณีของพนักงานใหม่จะใช้จำนวนวันใหม่จากแถวแรกสุด
รายละเอียดเพิ่มเติม
การคำนวณอายุงาน | เมื่อปิดงวด โปรแกรมคำนวณอายุถึงวันถัดไปของวันที่สิ้นงวด เมื่อปิดปี โปรแกรมคำนวณอายุถึงวันที่ 1 เดือน 1 ของปีถัดไป |
จำนวนวันใหม่ | ใช้ข้อมูลจากคอลัมน์วันใหม่ในตารางกำหนดจำนวนวันพักผ่อน ตามแถวอายุงานของพนักงาน กรณีไม่สะสม โปรแกรมจะใช้จำนวนวันใหม่บันทึกลงในคอลัมน์สูงสุดของสรุปการลา |
จำนวนวันสูงสุด | ใช้ข้อมูลจากคอลัมน์วันสูงสุดในตารางกำหนดจำนวนวันพักผ่อน ตามแถวอายุงานของพนักงาน กรณีสะสมได้ โปรแกรมจะใช้จำนวนวันสูงสุดบันทึกลงในคอลัมน์สูงสุดของสรุปการลา |
อัตราจ่ายคืนเงิน | พนักงานรายวัน: ใช้อัตราค่าจ้างรายวัน พนักงานรายเดือน: ใช้อัตราเงินเดือน / 30 |
รายการจ่ายคืนเงิน | สร้างรายการข้อมูลเงินได้พิเศษ ตามหัวข้อหลัก/ หัวข้อย่อยที่กำหนดไว้ โดยข้อมูลอื่นๆมีดังนี้ วันที่อ้างอิง: วันที่สิ้นงวดแรกของปีถัดไปตามพนักงานแต่ละประเภท (หรือวันที่ที่กำหนดในตัวช่วย) เลขที่อ้างอิง: AHyy_empid (yy = ปี, empid = รหัสพนักงาน ) จำนวนเงินต่อครั้ง: อัตราจ่ายเงินคืน จำนวนครั้ง: จำนวนวันที่เกิน รวมเงิน: อัตราจ่ายเงินคืน x จำนวนวันที่เกิน หมายเหตุ: คืนวันวันพักผ่อนประจำปี |