PayrollBiz

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. PayrollBiz
  4. กำหนดค่า
  5. พื้นฐาน
  6. งวด

งวด


[PayrollBiz] หน้านี้เป็นการกำหนดงวดการทำงานและจ่ายเงินของบริษัท โดยจะแบ่งตามประเภทของงวดตามที่ได้กำหนดไว้ใน รหัสพื้นฐาน การดำเนินการเกี่ยวกับงวดจะมีดังนี้

📑ข้อมูลเกี่ยวกับงวด

งวดคือรอบในการคำนวณเงินเดือน ในการสร้างฐานข้อมูลใหม่โปรแกรมจะให้ผู้ใช้กำหนดจำนวนงวดต่อปี(12 หรือ 24) งวดที่โปรแกรมจะสร้างให้ตามการกำหนดของผู้ใช้เป็นดังนี้

กำหนดประเภทของงวดที่โปรแกรมสร้างให้
12 งวด/ปีP01: เดือนละครั้ง
24 งวด/ปีP01: เดือนละครั้ง และ P02: เดือนละ 2 ครั้ง
ประเภท

จากที่กล่าวมาข้างต้น เมื่อเริ่มสร้างฐานข้อมูลใหม่โปรแกรมจะสร้างงวดมา 1 หรือ 2 ประเภทตามที่ผู้ใช้ได้กำหนด กรณีที่ต้องการเพิ่มประเภทใหม่ต้องไปกำหนดที่หน้าจอรหัสพื้นฐานก่อน ถึงจะมีตัวเลือกในช่องประเภทเพิ่มมาให้

งวดคำนวณ

งวดคำนวณจะเป็นตัวเลข และมีทศนิยม 1 หลัก กรณีที่ในระบบมีจำนวนงวดสูงสุด 12 งวด/ปี งวดคำนวณจะเริ่มจาก 1.0 ถึง 12.0 ส่วนกรณีที่ในระบบมีจำนวนงวดสูงสุด 24 งวด/ปี งวดคำนวณของประเภทเดือนละครั้งจะเป็น 2.0, 4.0, 6.0, … , 24.0 ส่วนงวดคำนวณของประเภทเดือนละ 2 ครั้งจะเป็น 1.0, 2.0, 3.0, … , 24.0 ให้สังเกตุว่าเลขทศนิยมจะเป็น 0 เท่านั้น

กรณีที่บางเดือนผู้ใช้ต้องการจ่ายเงินพิเศษแยกออกมาจากงวดคำนวณปกติ เช่น จ่ายโบนัส เป็นต้น ให้ทำการเพิ่มงวดใหม่โดยกำหนดให้งวดคำนวณอยู่ระหว่างงวดปกติ เช่น ต้องการจ่ายโบนัสก่อนจ่ายเงินเดือนงวดสุดท้ายของปี ถ้ามี 12 งวดต่อปี ให้เพิ่มงวดคำนวณที่ 11.5 ขึ้นมา โปรแกรมจะมองว่างวดคำนวณที่เลขทศนิยมไม่เป็น 0 เป็นงวดที่จะคำนวณจ่ายเฉพาะรายได้/รายหักพิเศษเท่านั้น ดังนั้นต่อไปจะเรียกงวดเหล่านี้ว่างวดพิเศษ

📑สร้างงวดใหม่ทั้งปี

ใช้ในกรณีที่ต้องการสร้างงวดใหม่ทั้งหมด เช่น เมื่อเริ่มใช้โปรแกรมครั้งแรก หรือ สร้างงวดใหม่ของปีหน้า เป็นต้น จะใช้วิธีนี้ได้ก็ต่อเมื่อในไม่มีรายการของงวดในตารางของปีนั้นๆ กรณีที่ในตารางมีรายการแสดงอยู่ต้องทำการลบให้หมดก่อน

วิธีการสร้างมีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกประเภท
  2. กำหนดปี (กรณีเป็นปีใหม่ซึ่งจะไม่มีในตัวเลือกปี ให้ใส่ปีลงไปเอง)
  3. ให้สังเกตุว่าในตารางจะว่างเปล่า และที่มุมบนขวาของตารางจะมีปุ่ม ตัวช่วยสร้าง แสดงขึ้นมา
  4. คลิกที่ปุ่ม ตัวช่วยสร้าง
  5. จะมีหน้าต่างให้ยืนยัน คลิกปุ่ม ตกลง
  6. ฝั่งขวามือของหน้าจอจะแสดงส่วนกำหนดค่า
    • จำนวนงวดคำนวณทั้งหมดต่อปี: ให้เลือกจากตัวเลือกที่มีให้ (12, 24, 36 หรือ 52)
    • วันที่เริ่มงวดแรก: กำหนดวันที่เริ่มของงวดแรก
    • จ่ายเงินหลังจากวันที่สิ้นงวด: กำหนดว่าจะจ่ายเงินหลังจากวันที่สิ้นงวดกี่วัน (ถ้าจะจ่ายในวันที่สิ้นงวดเลยให้กำหนดเป็น 0 วัน)
    • กรณีที่ผู้ใช้ต้องการกำหนดวันที่เริ่ม วันที่สิ้นสุด และวันที่จ่าย ที่เฉพาะเจาะจง ให้ทำเครื่องหมายที่ช่อง ◻️กำหนดเพิ่มเติม จะมีช่องให้กำหนดวันที่ดังกล่าวแสดงขึ้นมา ให้กำหนดตามที่ต้องการ
  7. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่ม ตกลง
  8. หลังจากสร้างงวดใหม่เสร็จแล้วจะมีข้อความแจ้ง และในตารางจะแสดงรายการงวด
  9. ถ้าต้องการแก้ไขวันที่ หรือ คำอธิบาย ให้คลิกทีช่องนั้นแล้วทำการแก้ไข
  10. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก

📑เพิ่มงวดใหม่

ใช้ในกรณีที่วิธีสร้างงวดใหม่ทั้งปีไม่ตรงความต้องการ หรือ กรณีที่ต้องการสร้างงวดพิเศษแทรกเข้าไประหว่างงวดปกติ

วิธีเพิ่มงวดใหม่มีขั้นตอนดังนี้

  1. เลือกประเภท
  2. กำหนดปี (กรณีเป็นปีใหม่ซึ่งจะไม่มีในตัวเลือกปี ให้ใส่ปีลงไปเอง)
  3. คลิกปุ่มเพิ่ม
  4. ฝั่งขวามือของหน้าจอจะแสดงส่วนกำหนดรายละเอียดงวดคำนวณ
    • งวดคำนวณ: กำหนดงวด ใส่ได้เฉพาะตัวเลข และ ทศนิยม 1 หลัก
    • เดือน: เลือกว่างวดคำนวณนี้อยู่ในเดือนไหน ซึ่งเดือนนี้จะมีผลในการนำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย และเงินสมทบประกันสังคม
    • งวดสุดท้ายของเดือน: ให้ทำเครื่องหมายถ้าเป็นงวดสุดท้ายของเดือน
    • เริ่มงวด: กำหนดวันที่เริ่มงวด
    • สิ้นงวด: กำหนดวันที่สิ้นงวด
    • จ่ายเงิน: กำหนดวันที่จ่ายเงิน
    • วันจ่าย: จำนวนวันที่จ่ายเงิน (เฉพาะโปรแกรมที่ไม่มีระบบเวลาทำงาน และมีผลกับพนักงานรายวันเท่านั้น)
    • คำอธิบาย: กำหนดข้อความที่ต้องการ
  5. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก

📑แก้ไขงวด

ใช้ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนวันที่ หรือ คำอธิบาย ของงวดที่มีอยู่แล้ว

วิธีแก้ไขงวดมีขั้นตอนดังนี้

  1. ในตาราง ให้คลิกที่รายการของงวดที่ต้องการแก้ไข (จะมีกรอบสี่เหลี่ยมล้อมรอบรายการนั้น)
  2. คลิกปุ่มแก้ไข
  3. ฝั่งขวามือของหน้าจอจะแสดงส่วนกำหนดรายละเอียดงวดคำนวณ
  4. ให้แก้ไขตามที่ต้องการ
  5. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก

📑ลบงวด

สามารถลบเฉพาะบางงวด หรือ ลบงวดทั้งหมดในปีนั้นๆก็ได้

วิธีลบงวดมีขั้นตอนดังนี้

  1. กรณีต้องการลบเฉพาะบางงวด ให้ทำเครื่องหมายในช่องหน้ารายการที่ต้องการลบ (ทำเครื่องหมายได้มากกว่า 1 รายการ)
  2. กรณีต้องการลบทุกงวดให้ทำเครื่องหมายที่ช่องในหัวคอลัมน์
  3. คลิกปุ่มลบ
  4. จะมีหน้าต่างให้ยืนยัน คลิกปุ่ม ตกลง
  5. หลังจากลบเรียบร้อยแล้วจะมีข้อความแจ้ง