PayrollBiz

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. PayrollBiz
  4. บุคคล
  5. ทะเบียน
  6. ข้อมูลพนักงาน

ข้อมูลพนักงาน


[PayrollBiz] ในหน้านี้เป็นการกำหนดข้อมูลของพนักงานส่วนที่ไม่เกี่ยวกับจำนวนเงิน แบ่งออกเป็น 4 ส่วนดังนี้

หัวข้อเนื้อหา
📑ข้อมูลพื้นฐาน
🗂️การจ้าง
🗂️ส่วนบุคคล
🗂️อื่นๆ
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง

📑ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลพื้นฐานประกอบด้วย รหัสพนักงาน ชื่อ-สกุล ตำแหน่ง และสามารถใส่รูปของพนักงานได้ หากต้องการใส่รูปพนักงาน ให้กดที่ปุ่มนำเข้า จากนั้นให้เลือกไฟล์ภาพที่ต้องการ หากต้องการนำออกให้กดที่ปุ่มเคลียร์

ในช่องชื่อ/นามสกุลปกติจะใช้แสดงในโปรแกรมเมื่อเลือกแสดงระบบเป็นภาษาไทย และในช่องที่มี (En) ตามหลังจะแสดงเมื่อเลือกให้ระบบแสดงเป็นภาษาอังกฤษ

ในส่วนของคำนำหน้าหากเลือกให้ระบบแสดงเป็นภาษาอังกฤษจะเปลี่ยนให้อัตโนมัติ เช่น นาย ➝ Mr. ไม่ต้องเพิ่มใหม่ในรหัสพื้นฐาน หรือ ใส่ลงในช่องชื่อ

ส่วนของแผนกหากไม่มีแผนกที่ต้องการให้เลือก สามารถเพิ่มลงในระบบได้ที่ แผนก
เช่นเดียวกับส่วนของสาขา หากไม่มีสาขาที่ต้องการ ให้ทำการเพิ่มสาขาก่อนได้ที่ สาขา

หมายเหตุ:

  • รูปของพนักงานไม่ควรใหญ่เกินไป โดยปกติไม่ควรเกิน 100 KB เนื่องจากจะทำให้ฐานข้อมูลมีขนาดใหญ่ ส่งผลให้การอ่านข้อมูล และสำรองข้อมูลใช้เวลานานขึ้น
  • ถ้าเลื่อน cursor ของเม้าส์ไปชี้ที่ภาพ จะแสดงขนาดของไฟล์ภาพ (หน่วยเป็น byte)

🗂️การจ้าง

ใช้ในการบันทึกประวัติการจ้างงาน และลักษณะของการจ่ายค่าจ้าง ซึ่งจะมีผลต่อการคำนวณเงินเดือนและเวลาการทำงาน ข้อมูลบางส่วนอย่าง ตำแหน่ง หรือ กลุ่มงาน จะมีผลในตอนเลือกกรองข้อมูลของรายงานต่าง ๆ โดยในส่วนของเงื่อนไขที่ควรทราบจะมีดังนี้

  1. ข้อมูลการติตด่อ
    ใช้ในการออกเอกสารต่างๆ
  2. สถานะ
    สถานะปัจจุบันของพนักงาน จะแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ ทดลองงาน(PB) ปกติ(RG) และลาออก(RS
  3. ประเภท
    ประเภทการจ้างของพนักงาน แบ่งเป็นรายวันและรายเดือน มีผลต่อลักษณะการคำนวณจ่ายค่าจ้าง
  4. งวด
    ลักษณะของการจ่ายค่าจ้างต่อเดือน สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมและตั้งค่าได้ที่ งวด
  5. เบี้ยขยัน
    ให้เลือกตารางของเบี้ยขยันสำหรับพนักงาน สามารถสร้างได้ที่ เบี้ยขยัน
  6. ความสำคัญ
    เป็นการกำหนดระดับความสำคัญของพนักงาน ซึ่งจะสอดคล้องกับการกำหนดระดับความสำคัญของบัญชีผู้ใช้งาน  ระดับความสำคัญกำหนดเป็นตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 ถึง 9
    • ตัวอย่างเช่น กำหนดระดับความสำคัญของ นาย A เป็น 1 และ นาย B เป็น 3
    • ถ้าลงชื่อเข้างานโปรแกรมด้วยผู้ใช้ กอ ที่ถูกกำหนดให้เข้าถึงข้อมูลที่ระดับความสำคัญ 0 ถึง 2 ก็จะเห็นเฉพาะข้อมูลของนาย A แต่จะไม่เห็นข้อมูลของนาย B
    • ถ้าลงชื่อเข้างานโปรแกรมด้วยผู้ใช้ ขอ ที่ถูกกำหนดให้เข้าถึงข้อมูลที่ระดับความสำคัญ 0 ถึง 3 ก็จะเห็นทั้งข้อมูลของนาย A และนาย B   
    • ถ้าลงชื่อเข้างานโปรแกรมด้วยผู้ใช้ คอ ที่ถูกกำหนดให้เข้าถึงข้อมูลที่ระดับความสำคัญ 2 ถึง 5 ก็จะเห็นเฉพาะข้อมูลของนาย B แต่จะไม่เห็นข้อมูลของนาย A
  7. วันที่เริ่มงาน
    เมื่อผู้ใช้มีการเปลี่ยนแปลงค่าโปรแกรมจะทำการประมวล สถานะ วันที่พ้นทดลองงาน และ อายุงาน ให้ใหม่
  8. วันที่ลาออก
    ถ้าทราบว่าพนักงานลาออกเมื่อไรให้รีบใส่วันที่ลาออกในช่องนี้ทันที เพื่อให้โปรแกรมคำนวณรายได้ที่คาดว่าจะได้จนถึงวันที่ลาออกเท่านั้น  การคำนวณภาษีจะได้เป็นไปตามจริง  และเมื่อปิดงวดที่พนักงานลาออก สถานะก็จะถูกเปลี่ยนเป็น ลาออก(RS) ให้โดยอัตโนมัติ

🗂️ส่วนบุคคล

สำหรับบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในการแสดงข้อมูลและยื่นแบบเอกสารต่าง ๆ เช่น ประกันสังคม ภ.ง.ด.1 ภ.ง.ด.91 เป็นต้น

กรณีที่ใส่เลขประจำตัวประชาชนเพียงช่องเดียว เมื่อทำการบันทึกโปรแกรมจะนำค่าในช่องนี้ไปใส่ให้ใน เลขประจำตัวผู้เสียภาษี และ เลขประจำตัวประกันสังคมโดยอัตโนมัติ สำหรับกรณีที่พนักงานไม่ใช่สัญชาติไทยต้องกำหนดค่าแต่ละช่องให้ถูกต้องด้วย

ในส่วนของคู่สมรส ถ้ามีก็ควรจะใส่เพื่อนำไปออกในแบบ ภ.ง.ด.91 ได้อย่างถูกต้อง

🗂️อื่นๆ

ในแถบสุดท้ายนี้จะเป็นการเก็บบันทึกประวัติอื่น ๆ ที่ต้องการ ซึ่งอยู่นอกเหนือจากข้อมูลในส่วนอื่น ในส่วนของช่องบันทึกสามารถบันทึกข้อมูลใดก็ได้ตามที่ต้องการ โดยมีเงื่อนไขว่าแต่ละบรรทัดจะมีความยาวได้ไม่เกิน 100 ตัวอักษร