PayrollBiz

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. PayrollBiz
  4. บุคคล
  5. ทะเบียน
  6. ทะเบียนเงินเดือน

ทะเบียนเงินเดือน


[PayrollBiz] ในหน้านี้เป็นการกำหนดค่าจำนวนเงินของรายได้ / รายหักประจำ ค่าลดหย่อนและยกเว้นภาษีเงินได้ ข้อมูลบัญชีธนาคาร และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยฝั่งซ้ายมือจะแสดงรายชื่อพนักงาน และฝั่งขวามือจะแสดงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณเงินเดือน ข้อมูลจะแบ่งออกเป็น 4 tab

ผู้ใช้ต้องคลิกปุ่มแก้ไขก่อนถึงจะสามารถแก้ไขข้อมูลในหน้าจอนี้ได้ และหลังจากแก้ไขแล้วต้องคลิกปุ่มบันทึก เพื่อทำการบันทึกข้อมูลที่ได้แก้ไขไป

🗂️อัตราเงินเดือน

Tab นี้เป็นการกำหนดรายได้/รายหักประจำของพนักงาน และกำหนดการคำนวณต่างๆ พร้อมปุ่มคำนวณค่าล่วงเวลา และคำนวณหักลา แบ่งออกเป็น 5 ส่วนดังนี้

กำหนดรายได้

ให้กำหนดในตารางฝั่งซ้าย รายการที่แสดงในตารางจะแสดงเฉพาะรายได้ประจำที่เปิดใช้เท่านั้น(การเปิดใช้ต้องไปทำที่ กำหนดค่า > ตาราง > รายได้/หัก)

พนักงานประเภทรายวันไม่สามารถกำหนดจำนวนเงินในช่องเงินเดือนได้ และเช่นกัน พนักงานประเภทรายเดือนไม่สามารถกำหนดจำนวนเงินในช่องค่าจ้างรายวันได้

จำนวนเงินที่กำหนดในช่องค่าล่วงเวลา คือ อัตราค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง

กำหนดรายหัก

ให้กำหนดในตารางฝั่งขวา รายการที่แสดงในตารางจะแสดงเฉพาะรายหักประจำที่เปิดใช้เท่านั้น(การเปิดใช้ต้องไปทำที่ กำหนดค่า > ตาราง > รายได้/หัก)

ช่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายไม่สามารถกำหนดจำนวนเงินได้ ยกเว้นผู้ใช้ทำเครื่องหมายที่◻️ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนของหักคงที่ก่อน จึงจะสามารถกำหนดจำนวนเงินในช่องนี้ได้

ปุ่มคำนวณ ล่วงเวลา และ หักลา

ฝั่งขวามือของตารางรายหักมีปุ่มคำนวณ 2 ปุ่ม คือ

  • ปุ่มล่วงเวลา คลิกปุ่มนี้โปรแกรมจะช่วยคำนวณอัตราค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง และนำค่าที่คำนวณได้ไปใส่ในช่องค่าล่วงเวลาให้
  • ปุ่มหักลา คลิกปุ่มนี้โปรแกรมจะช่วยคำนวณอัตราหักลาต่อวัน และนำค่าที่คำนวณได้ไปใส่ในช่องหักการลาให้
กำหนดการคำนวณ

ที่ด้านล่างฝั่งขวาผู้ใช้สามารถกำหนดได้ว่าพนักงานท่านนี้จะคำนวณ หรือ ไม่คำนวณหัวข้อต่อไปนี้ ทั้งในการคำนวณการทำงาน คำนวณรายได้/หัก และ คำนวณภาษี

◻️ล่วงเวลา (ค่าเริ่มต้นจะทำเครื่องหมายในช่องนี้)
◻️ประกันสังคม (ค่าเริ่มต้นจะทำเครื่องหมายในช่องนี้)
◻️เบี้ยขยัน ... ขั้นที่ (ในช่องขั้นที่ให้ระบุว่าปัจจุบันพนักงานได้รับเบี้ยขยันขั้นที่เท่าไร) 
◻️กองทุนเงินทดแทน (ค่าเริ่มต้นจะทำเครื่องหมายในช่องนี้)
◻️ภาษี (ค่าเริ่มต้นจะทำเครื่องหมายในช่องนี้)
◻️กองทุนสำรอง

ซึ่งหากไม่ทำเครื่องหมายเอาไว้จะถือว่าพนักงานท่านนั้นไม่ต้องคำนวณในหัวข้อนั้น

หักคงที่(ไม่คำนวณโดยโปรแกรม)

ปัจจุบันกำหนดได้เฉพาะภาษีหัก ณ ที่จ่าย ถ้าผู้ใช้ทำเครื่องหมายในช่องนี้โปรแกรมจะไม่คำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามระบบ แต่จะนำจำนวนเงินตามที่ผู้ใช้กำหนดไว้ในช่องภาษีหัก ณ ที่จ่ายของตารางกำหนดรายหักมาใช้แทน

🗂️ค่าลดหย่อน และยกเว้น

Tab นี้สำหรับกำหนดเงื่อนไขภาษี ค่าลดหย่อน และยกเว้นภาษีตามที่กรมสรรพากรกำหนด ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น เลขประจำตัวประชาชน ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละงวด และออกเอกสาร ภ.ง.ด. 91 ในตอนปลายปี

เงื่อนไขภาษี

ในกลุ่มของเงื่อนไขภาษี การกำหนดเงินได้(ประเภทของเงินได้)ได้ต้องกำหนดก่อนที่จะมีการคำนวณภาษี ถ้าได้มีการคำนวณภาษีไปแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้อีก

กรณีที่กำหนดเงินได้เป็น อื่นๆ การคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายจะหักตามอัตราหักที่กำหนดไว้ด้านล่าง และรายการภาษีนำส่งจะอยู่ในแบบ ภ.ง.ด.3

เงินชดเชย

กรณีที่มีการจ่ายเงินชดเชย และต้องการแยกคำนวณภาษี ให้ทำเครื่องหมายที่ ◻️แยกคำนวณภาษี

ส่วนช่องเงินได้ และภาษี จะแสดงจำนวนเงินชดเชย และภาษีส่วนของเงินชดเชยที่ได้จ่าย และหักไว้

เลขประจำตัวประชาชน

ในกรณีที่หักค่าลดหย่อนบุตร หรือบิดา-มารดา ให้ระบุเลขประจำตัวประชาชนของ บุตร หรือบิดา-มารดา ลงในช่อง “เลขประจำตัวประชาชน” ด้วย

กำหนดเงินบริจาคตามส่วน (ก) ในแบบยื่นภ.ง.ด.91

กำหนดเงินได้ที่ได้รับยกเว้นตามส่วน (ข) ในแบบยื่นภ.ง.ด.91

สถานภาพ

ทำเครื่องหมายในช่องเพื่อกำหนดสถานภาพของพนักงาน

สถานภาพการสมรส

ทำเครื่องหมายในช่องเพื่อกำหนดสถานภาพการสมรสของพนักงาน กรณีที่สถานภาพของพนักงานไม่ใช่โสด

หลังหักค่าใช้จ่าย

กำหนดค่าลดหย่อนและยกเว้นหลังหักค่าใช้จ่าย

🗂️ยอดสะสม/ ธนาคาร/ กองทุน

Tab นี้แสดงยอดสะสมยกมาทั้งปี(ไม่รวมงวดปัจจุบัน)ในส่วนของ ประกันสังคม ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกำหนดข้อมูลธนาคารของพนักงานกรณีจ่ายเงินเดือนผ่านธนาคาร

กรณีไม่ได้เริ่มใช้โปรแกรมตั้งแต่งวดแรกของปี ให้กำหนดค่าต่างๆในยอดสะสมให้ถูกต้องก่อนที่จะเริ่มคำนวณครั้งแรกเท่านั้น หลังจากนั้นโปรแกรมจะทำการคำนวณยอดสะสมให้เองทุกครั้งที่ทำการปิดงวด

ยอดสะสม – ประกันสังคม
ค่าจ้างแสดงยอดสะสมยกมาของค่าจ้างที่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ
เงินสมทบแสดงยอดเงินสมทบสะสมยกมา
จากที่อื่นเงินสมทบกรณีไม่ได้เริ่มงานกับองค์กรตั้งแต่ต้นปี ให้ใส่เงินสมทบที่พนักงานได้นำส่งไปแล้วตั้งแต่ต้นปีในช่องนี้เพื่อใช้ในการคำนวณภาษี
ยอดสะสม – ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
เงินได้แสดงยอดสะสมยกมาของเงินได้ที่เป็นฐานในการคำนวณภาษี(เงินได้ประจำ+เงินได้ครั้งคราว)
ภาษีแสดงยอดสะสมยกมาของภาษีหัก ณ ที่จ่าย(ภาษีส่วนของเงินได้ประจำ + ภาษีส่วนของเงินได้ครั้งคราว
+ ภาษีส่วนของเงินชดเชย)
เงินได้ครั้งคราวแสดงยอดยกมามาของเงินได้ครั้งคราวที่เป็นฐานในการคำนวณภาษี
ภาษีครั้งคราวแสดงยอดสะสมยกมาของภาษีหัก ณ ที่จ่ายในส่วนของเงินได้ครั้งคราว
ออกให้แสดงยอดสะสมยกมาของเงินได้ส่วนของภาษีออกให้(รวมในส่วนของภาษีเงินชดเชยออกให้ด้วย)
ออกให้ส่วนชดเชยแสดงยอดสะสมยกมาของเงินได้ส่วนของภาษีเงินชดเชยที่ออกให้
จากที่อื่นเงินได้กรณีไม่ได้เริ่มงานกับองค์กรตั้งแต่ต้นปี ให้ใส่เงินได้ที่พนักงานได้รับมาก่อนเข้ามาร่วมงานเพื่อใช้ในการคำนวณภาษี
จากที่อื่น ภาษีกรณีไม่ได้เริ่มงานกับองค์กรตั้งแต่ต้นปี ให้ใส่ภาษีที่พนักงานถูกหักไว้ก่อนเข้ามาร่วมงานเพื่อใช้ในการคำนวณภาษี
ข้อมูลธนาคาร
บัญชีพนักงานกำหนดรหัสธนาคารที่เป็นบัญชีของพนักงานจากตัวเลือกที่มีให้
เลขที่บัญชีกำหนดเลขที่บัญชีธนาคารของพนักงาน(ใส่เฉพาะตัวเลข ไม่ต้องใส่เครื่องหมาย)
บริการจ่ายเงินกำหนดรหัสธนาคารที่ใช้ในการจ่ายเงินเดือนพนักงานจากตัวเลือกที่มีให้
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
เลขที่สมาชิกกำหนดเลขที่สมาชิกกองทุนของพนักงาน
อัตราพนักงาน %กำหนดอัตราสะสมส่วนของพนักงาน
อัตรานายจ้าง %กำหนดอัตราสะสมส่วนของนายจ้าง
วันที่เริ่มใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ไม่มีผลใดๆกับการคำนวณเงินสะสม
วันที่ลาออกใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ไม่มีผลใดๆกับการคำนวณเงินสะสม
สะสมพนักงานแสดงยอดเงินสะสมยกมาส่วนของพนักงาน
จากที่อื่นกรณีไม่ได้เริ่มงานกับองค์กรตั้งแต่ต้นปี ให้ใส่เงินสะสมที่พนักงานได้นำส่งไปแล้วตั้งแต่ต้นปีในช่องนี้
เพื่อใช้ในการคำนวณภาษี
สะสมนายจ้างแสดงยอดเงินสะสมยกมาส่วนของนายจ้าง
รหัสกองทุนเลือกกองทุนจากตัวเลือกที่มีให้

🗂️ประวัติเงินเดือน

Tab นี้แสดงประวัติรายได้/หักทั้งหมดที่ผ่านมาในแต่ละงวดของปีที่เลือก และสามารถส่งออกข้อมูลเป็น Excel ได้โดยการกดที่ปุ่ม Excel ด้านขวา โปรแกรมจะส่งออกไฟล์ไปไว้ที่หน้า Desktop