กำหนดข้อมูลของผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และค่าพื้นฐานต่างๆที่ใช้งานในโปรแกรม
ข้อมูลผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย:
ข้อมูลที่ต้องกำหนดคือ ชื่อ ที่อยู่ โทรศัพท์ โทรสาร เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ชื่อ และตำแหน่งของผู้ลงนาม
สำหรับผู้ที่ต้องการออกรายงานประกันสังคมให้กำหนดข้อมูลในส่วน ประกันสังคม เพิ่มด้วย
ในส่วนของที่อยู่ จะแยกเป็น 2 ประเภทดังนี้
- ที่อยู่ แสดงในแบบ ภ.ง.ด.: คือที่อยู่ที่มีการแยกประเภทข้อมูลชัดเจน ตามรูปแบบของกรมสรรพากร โปรแกรมจะใช้ข้อมูลนี้แสดงในใบหน้าของแบบยื่น ภ.ง.ด.
- ที่อยู่ แสดงในเอกสารทั่วไป: คือที่อยู่ตามปกติทั่วไปที่เขียนต่อเนื่องกัน โปรแกรมจะใช้ข้อมูลนี้แสดงในหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
กรณีที่บันทึกที่อยู่สำหรับแสดงในแบบ ภ.ง.ด. เรียบร้อยแล้ว สามารถใช้ปุ่มสร้างที่อยู่สำหรับออกเอกสารเพื่อให้ระบบสร้างที่อยู่สำหรับแสดงในเอกสารทั่วไปได้
ค่าพื้นฐาน:
ปีปัจจุบัน | จะกำหนดเป็นปี พ.ศ. หรือ ค.ศ. ก็ได้ แต่เมื่อกำหนดแล้วไม่ควรเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพราะโปรแกรมจะใช้เป็นตัวกำหนดรูปแบบของปีในทุกหน้าจอ |
รูปแบบหนังสือรับรอง | กำหนดรูปแบบของหนังสือรับรองที่จะพิมพ์ เลือกได้ 3 รูปแบบคือ ▪ ฟอร์มของปัญญามี (เป็นฟอร์มกระดาษเคมีแบบต่อเนื่อง 4 ชั้น ขนาด 9 x 11 นิ้ว ใช้กับเครื่องพิมพ์ Dot Matrix) ▪ กระดาษเปล่า ขนาด A4 ▪ กระดาษเปล่า ขนาด Letter |
เลขที่หนังสือรับรอง | รูปแบบของเลขที่หนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย ที่จะให้โปรแกรมกำหนดให้อัตโนมัติ ▪ อักษรนำ: จะเป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษรก็ได้ หากไม่ต้องการให้เว้นว่างไว้ ▪ รูปแบบ: เลือกได้ 3 รูปแบบ คือ เว้นว่าง, yy (แสดง 2 หลักสุดท้ายของปี) หรือ yyMM (แสดง 2 หลักสุดท้ายของปี + เดือนที่) ▪ เครื่องหมายคั่น: เลือกได้ 3 รูปแบบ คือ ไม่มีเครื่องหมาย, – (ขีดกลาง) หรือ _ (ขีดเส้นใต้) ▪ ส่วนเพิ่ม: จำนวนหลักของส่วนที่จะเพิ่มขึ้นในแต่ละเอกสาร ถ้าไม่ต้องการกำหนดเลขที่อัตโนมัติ ช่องนี้ให้เว้นว่างไว้ ▪ ใช้เลขที่ร่วมกัน: ให้ทำเครื่องหมายที่ช่องนี้ถ้าต้องการใช้เลขที่หนังสือรับรองของทุก ภ.ง.ด. ร่วมกัน แล้วไปกำหนดรูปแบบที่แถวของ ภ.ง.ด.53 แถวเดียวเท่านั้น |
รหัสผู้ถูกหักภาษี | รูปแบบของรหัสผู้ถูกหักภาษี ที่จะให้โปรแกรมกำหนดให้อัตโนมัติ ▪ อักษรนำ: จะเป็นตัวเลข หรือ ตัวอักษรก็ได้ หากไม่ต้องการให้เว้นว่างไว้ ▪ ส่วนเพิ่ม: จำนวนหลักในส่วนของค่าที่จะเพิ่มขึ้น |
ลายเซ็นต์ | นำเข้าภาพลายเซ็นต์ของผู้ลงนาม |
ตราประทับ | นำเข้าภาพตราประทับของบริษัท(ขนาดที่แสดงในเอกสารคือ 1.5×1.0 นิ้ว) ▪ แสดงเป็นพื้นหลัง: กรณีภาพตราประทับของท่านไม่โปร่งแสง(transparent) อาจทับข้อความบางส่วน กรณีนี้ให้ทำเครื่องหมายในช่องนี้ |